Powered By Blogger

หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

16 ,มกรา วันครู ของประเทศไทย


วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความ เห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู

ด้วยเหตุนี้ในทุกปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบ ข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคียาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"

จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภา สามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนด เป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยน แปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบ การจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทหลักดังนี้

  • กิจกรรมทางศาสนา
  • พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
  • กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการจรรยา

[แก้] รายชื่อประเทศที่มีวันครู

[แก้] ประเทศที่มีวันครูที่ไม่ใช่วันหยุด

ประเทศ วันครู
ธงของสาธารณรัฐอินเดีย อินเดีย 5 กันยายน
ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย 16 พฤษภาคม
ธงของประเทศตุรกี ตุรกี 24 พฤศจิกายน

[แก้] ประเทศที่มีวันครูเป็นวันหยุด

ประเทศ วันครู
ธงของสาธารณรัฐแอลเบเนีย แอลเบเนีย 7 มีนาคม
Flag of the People's Republic of China จีน 10 กันยายน
ธงของสาธารณรัฐเช็ก สาธารณรัฐเช็ก 28 มีนาคม
ธงของประเทศอิหร่าน อิหร่าน 2 พฤษภาคม
ละตินอเมริกา 11 กันยายน
ธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์ 14 ตุลาคม
ธงของสหพันธรัฐรัสเซีย รัสเซีย 5 ตุลาคม
ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์ 1 กันยายน
ธงของประเทศสโลวีเนีย สโลวีเนีย 28 มีนาคม
ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 15 พฤษภาคม
ธงของสาธารณรัฐจีน ไต้หวัน 28 กันยายน
Flag of ไทย ไทย 16 มกราคม
ธงของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา วันอังคารในสัปดาห์แรกที่เต็ม 7 วันในเดือนพฤษภาคม
ธงของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เวียดนาม 20 พฤศจิกายน

[แก้] อ้างอิง

  • หนังสือวันสำคัญโครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยฯ ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

  • วันครูของฉัน
  • ตั้งแต่ เกิดมา ตัวฉัน
  • ผูกพัน กับครู คู่หนึ่ง
  • สั่งสอน ฉันอย่าง ลึกซึ้ง
  • สอนถึง เติบใหญ่ วัยเรียน
  • ครูนั้น ท่านคือ แม่พ่อ
  • ผู้ก่อ ผู้ให้ ตัวฉัน
  • สอนสั่ง ทุกวี่ ทุกวัน
  • สอนหวัง ให้ลูก ถูกทาง

  • ย่างก้าว เข้ารั้ว โรงเรียน
  • พากเพียร เขียนอ่าน มุ่งหวัง
  • อ่านออก เขียนได้ เร็ววัน
  • ครู...ท่าน สอนให้ เป็น.. คนดี

  • อีกครู ที่ฉัน จำแม่น
  • เป็นครู คู่แผ่น ดินฉัน
  • เป็นพ่อ เป็นครู คู่กัน
  • ท่านนั้น คือ.."ภู.. มิพล"
  • ท่านสอน ปวงราษฎร์ ทั้งหลาย
  • สอนให้ รักผืน ดิน...น้ำ
  • รักชาติ ประเทศ เขตคาม
  • รักความ สมาน สามัคคี

  • อีกครู เป็นผู้ ยิ่งใหญ่
  • ก้องไป ทั่วภพ ทั้งหลาย
  • สอนให้ มนุษย์ ได้สบาย
  • รู้ใจ รู้กาย ของตน
  • สอนให้ งดฆ่า งดอบาย
  • ทำใจ ละกิเลส ให้สิ้น
  • ฝึกจิต ให้หมด มลทิน
  • ละสิ้น ดั่งคำ " พุทธองค์ "

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

พระราชวังสนามจันทร์
















พระราชวังสนามจันทร์

พระราชวังสนามจันทร์ เป็นพระราชวังเดียวที่อยู่ ณ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม มีประวัติว่า พระราชวังสนามจันทร์เป็นพระราชวังที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบนบริเวณที่คาดว่าเป็นพระราชวังเก่าของกษัตริย์สมัยโบราณที่เรียกว่า เนินปราสาท เพื่อเป็นสถานที่ประทับครั้งมานมัสการองค์พระปฐมเจดีย์และเมื่อบ้านเมืองถึงยามวิกฤต




พระราชวังใช้เวลาก่อสร้างนาน 4 ปี โดยมี หลวงพิทักษ์มานพ (น้อย ศิลป์) ซึ่งต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯเลื่อนยศเป็นพระยาวิศุกรรม ศิลปประสิทธิ์ เป็นแม่งาน และสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2450 เมื่อสร้างแล้วเสร็จจึงได้พระราชทานนามว่า "พระราชวังสนามจันทร์" ตามชื่อสระน้ำโบราณหน้าโบสถ์พราหมณ์ (ปัจจุบันไม่มีโบสถ์พราหมณ์เหลืออยู่แล้ว) สระน้ำจันทร์ หรือ สระบัว






พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชพินัยกรรมแสดงพระราชประสงค์ยกพระราชวังสนามจันทร์ให้เป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนนายร้อยทหารบก โดยมีใจความว่า






" บรรดาที่ดินตึกรามทั้งใหญ่ น้อย ที่รวมอยู่ในเขตซึ่งเรียกว่า "พระราชวังสนามจันทร์" เป็นสมบัติส่วนตัวของข้าพเจ้าโดยแท้ไม่ได้รับมฤดกมาจากสมเด็จพระบรมชนกนารถมิได้ ข้าพเจ้าได้เก็บทุนในตำแหน่งหน้าที่พระยุพราชและ ทุนอื่น ๆ สร้างที่สนามจันทร์ และสร้างพระที่นั่งซึ่งเรียกว่า พระพิมานประฐม นั้นขึ้นก่อน ต่อมาเมื่อข้าพเจ้าได้ราชสมบัติแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้เอาเงินพระคลังข้างที่ทำนุ บำรุงที่นี้ตลอดมาเป็นส่วนตัวทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจะเอาที่พระราชวังสนามจันทร์ไปรวมเข้ากับกองมฤดกใหญ่นั้นหาควร ไม่ ข้าพเจ้ามีสิทธิ์ตามกฎหมายเหมือนสามัญชน ที่จะยกที่นี้ให้แก่ผู้ใดก็ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อสิ้นตัวข้าพเจ้าไปแล้ว ข้าพเจ้าขอยกที่นี้ให้แก่รัฐบาลสยามเป็นสิทธิขาด เพื่อทำเป็นโรงเรียนนายร้อยทหารบก"[1]






ในปัจจุบัน พระราชวังสนามจันทร์อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง โดยเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2546 คณะกรรมการอำนวยการบูรณะพระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งมีสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นองค์ประธาน ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย นายนาวิน ขันธหิรัญ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม และมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ลิขิต กาญจนาภรณ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ได้น้อมเกล้าฯ ถวายคืนพระราชวังสนามจันทร์แก่สำนักพระราชวัง[2]